Blog

ความซับซ้อนของเฟสบุ๊ก

Loading

ในวันแรกที่มาร์คซัคเคอร์เบิร์กสร้าง Facebook ขึ้นมา ก็เพื่อที่จะเก็บข้อมูลพฤติกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพียงเพราะเขาอยากจะรู้ว่า หนุ่มสาวในมหาวิทยาลัยมีรสนิยมและใช้ชีวิตกันอย่างไร

จากความคิดริเริ่มเล็กๆ ก็บานปลายใหญ่โต จนกลายเป็นโลกใบใหม่ที่ซับซ้อน เกินขอบเขตจากรั้วมหาวิทยาลัยไปมาก จึงทำให้นักลงทุนมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ต่างหยิบยื่นเงินจำนวนมหาศาลให้ Facebook ได้พัฒนาไปไกลสุดโต่ง จากแอปพลิเคชั่นที่ใช้เพียงส่วนตัว กลายมาเป็นแพลทฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งอิทธิพลมากที่สุดในขณะนี้

การเกิดขึ้นของ Facebook ถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเทคโนโลยีหลายอย่างทางด้านไอทีและดิจิตอล ได้แก่ เทคโนโลยี Cloud Computing, Big data, Smartphone, Mobile Camera, Social Media, Smartphone Live Streaming, Social Marketing online, Augmented Reality (AR) Metaverse, และ Artificial Intelligent (Ai) นอกจากนั้นเฟสบุ๊กยังกลายเป็นแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกูเกิ้ล

ใหม่ล่าสุด! “Digital Marketing Masterclass 2025" เป็นคอร์สเรียนรู้การตลาดดิจิทัลยุคใหม่ ทั้ง Growth, Performance, Data-driven, และ Customer Experience Marketing เพื่อสร้างการเติบโตและตอบโจทย์ลูกค้า สมัครเรียนออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet สอนโดย พันธุ์ทิตต์ สิรภพธาดา …คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม…

ในปัจจุบันเฟสบุ๊กมีผู้ใช้ที่แอคทีฟ อยู่มากกว่า 2,900 ล้านคน ซึ่งนับเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก เฟสบุ๊ก มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่พัฒนาต่อยอดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการใช้งานทั้งส่วนบุคคลและองค์กร นอกจากนั้นเฟสบุ๊กยังมีส่วนสำคัญต่อการเติบโต ของการตลาดดิจิทัล การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การสื่อสารมวลชน และพฤติกรรมของคนในสังคม

ไม่รู้ว่า สตีฟจอบส์ และ มาร์คซัคเคอร์เบิร์ก เคยคิดบ้างหรือไม่ว่าความร่วมมือเมื่อครั้งอดีตที่ iPhone 2 ได้ติดตั้งแอปพลิเคชันเฟสบุ๊ก เป็นแอปมาตรฐานมาจากโรงงานผลิต ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ยอดขาย iPhone 2 และจำนวนผู้ใช้ Facebook เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับเป็นกลยุทธ์ที่เยี่ยมยอด แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครกล้ายืนยันว่าสตีฟจอบส์ หรือ มาร์คซัคเคอร์เบิร์ก ใครเป็นคนที่เปิดดีลในเรื่องนี้

จากการเป็นแอปพลิเคชันโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จนเข้าสู่การเป็นสื่อออนไลน์ยอดนิยมที่ถูกเรียกว่าโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งท้าทายสื่อยักษ์ใหญ่ ด้วยการหยิบยื่นพลังสื่อให้อยู่ในมือของคนธรรมดา ซึ่งคงจะไม่มีใครเคยคิดมาก่อนว่าบริษัทซอฟต์แวร์จะเข้ามาแทรกแซง (Disrupted) และเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจสื่อ (Transform) ไปไปสู่โลกของสื่อยุคใหม่ (New Media) โดยสิ้นเชิง

Facebook แย่งรายได้ค่าโฆษณาไปจากธุรกิจสื่อและโฆษณาไปมากมาย ทำให้สื่อหลักจากยุคอนาล็อก ได้แก่ รายการวิทยุและโทรทัศน์ นิตยสารและสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างต้องปิดตัวกันเป็นใบไม้ร่วง เพราะรายได้จากค่าโฆษณาลดลงจนแทบไม่เหลือ เหล่าปัญญาสปอนเซอร์ทั้งหลายต่างหันไปลงโฆษณาผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่ากว่า

ความซับซ้อนของ Facebook ยังคงเดินหน้าต่อไป เก็บเกี่ยวข้อมูลการตลาดจากผู้ใช้เกือบ 3,000 ล้านคนทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมง เกิดข้อมูลปริมาณมหาศาล (Big data) ที่มากเกินกว่าสมองมนุษย์จะรับมือได้ จึงทำให้ Facebook ต้องพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ Ai (Artificial intelligence) ทำหน้าที่ประมวลผล คิดวิเคราะห์ และจัดการระบบโดยอัตโนมัติตลอดเวลา

Facebook มี Data Center จำนวน 18 แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป และเอเชียแปซิฟิก คิดเป็นพื้นที่ 40 ล้านตารางฟุต ใช้เงินลงทุนไปกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทั้งหมดใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell energy) และพลังงานลม (Wind energy)

ปัจจุบัน Facebook ได้มีการปรับโครงสร้างพนักงาน จนมีจำนวนล่าสุดอยู่ที่ 75,964 คน คิดเป็นเงินเดือนรวมประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลนี้ได้จากเดือนกันยายน ค.ศ. 2022

ในปัจจุบัน Facebook ได้ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อบริษัท Meta หลังจากที่ได้ควบรวมกิจการแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียชื่อดัง Instagram เพื่อขยายฐานผู้ใช้และสื่อโฆษณาออนไลน์ และยังได้เปิดตัวอนาคตให้โลกได้รู้จักกับ Metaverse โลกเสมือนจริงของสังคมออนไลน์ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก กับการใช้ชีวิตบนโลกสังคมออนไลน์เสมือนจริงสมบูรณ์แบบด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR)

วันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook และ Instagram เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม คอนเทนต์ปริมาณจำนวนมหาศาลก็กำลังถาโถมเข้าหาเราตลอดเวลา เปลี่ยนชีวิตของเรา เพื่อนของเรา ญาติพี่น้องของเรา และเฟสบุ๊กได้เปลี่ยนโลกนี้ไปอย่างสิ้นเชิง

ที่ปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัลที่มีประสบการณ์กว่า 25 ปี ให้กับองค์กรภาคเอกชน อดีตบรรณาธิการนิตยสาร E-Commerce นิตยสารด้านการค้าออนไลน์ฉบับแรกของประเทศไทย นักจัดรายการวิทยุด้านไอที วิทยากรและอาจารย์พิเศษด้านอีคอมเมิรซ์และการตลาดดิจิทัล